วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Candide ou l'optimisme

ความเป็นมา
               ก็องดิดด์เป็นนวนิยายแนวปรัชญาของวอลแตร์ นักประพันธ์และนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส เขาเริ่มเขียนปรัชญานิยาย เรื่องนี้ในรูปแบบของร้อยแก้วในเชิงเสียดสีที่ใช้คำพูดที่มีความหมายขัดแย้งกัน
              นวนิยายเชิงปรัชญา คือนวนิยายที่มีกระบวนการในการตีความและการรับรู้ในสภาวะใดๆอันเป็นความจริงแท้ที่เป็นไปแห่งโลก ความจริงของมนุษย์ โลก ธรรมชาติ และชีวิตอย่างลึกซึ้ง เพื่ออธิบายเหตุการณ์ และสิ่งต่าง ๆ โดยใช้หลักการของเหตุผลในวิชาตรรกวิทยาเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงความจริงหรือความรู้ที่แน่นอน เริ่มต้นขึ้นจากความสงสัยต่อโลก ต่อตัวเราเอง ต่อสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา
             ชื่อเรื่องก็องดิดด์ แปลว่าเชื่อง่าย ซื่อ บริสุทธิ์ จริงใจ เปิดเผย อ่อนต่อโลก โดยตัวละครหลักในเรื่องก็ชื่อว่าก็องดิดด์ เป็นสัญลักษณ์สะท้อนความเชื่อง่ายของคนร่วมสมัยวอลแตร์และวอลแตร์ได้เพิ่มชื่อที่สองให้ก็องดิดด์ ว่า l’optimisme เป็นแนวคิดปรัชญาหรือลัทธิสุทรรศนิยม หมายถึงการมองโลกในแง่ดี เพื่อเสียดสีบุคคลที่เชื่อตาม ไลบ์นิซ (Leibnitz) นักปราชญ์ชาวเยอรมันที่เชื่อว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างที่พระเจ้าประทานมาเป็นไปด้วยดี”
ก่อนหน้านี้วอลแตร์เคยเขียนบทกวี บทละคร บทความเชิงปรัชญา หนังสือประวัติศาสตร์ และเป็นราชบัณฑิต เขามีประสบการณ์ชีวิตที่โชกโชน เคยติดคุก เคยถูกเนรเทศ เคยมีชื่อเสียงเกียรติยศแล้วกลับตกต่ำในราชสำนักปารีส ราชสำนักเบอร์ลิน ประสบการณ์ชีวิตที่ผกผัน การเดินทาง การได้เห็น ได้อ่าน ได้ศึกษามามากทำให้วอลแตร์ไม่อาจมองโลกในแง่ดีได้ เขาจึงเขียนผลงานชิ้นนี้ออกมาเพื่อแสดงความคิดเห็นของเขาลงไป โดยอาศัยนิยายเป็นสื่อกลางในการนำเสนอ







http://images.delcampe.com/img_large/auction/000/065/060/776_001.jpg?v=7

ชื่อหนังสือ :Candide ou l’optimisme
ผู้แต่ง : Voltaire
พิมพ์ครั้งที่ 1:  ค.ศ.1759
พิมพ์ครั้งที่ 2 :  ค.ศ.1761
จำนวนบท : 30 บท
จำนวนหน้า : 218 หน้า


Candide
Voltaire


• CHAPITRE PREMIER
• CHAPITRE SECOND
• CHAPITRE TROISIÈME
• CHAPITRE QUATRIÈME
• CHAPITRE CINQUIÈME
• CHAPITRE SIXIÈME
• CHAPITRE SEPTIÈME
• CHAPITRE HUITIÈME
• CHAPITRE NEUVIÈME
• CHAPITRE DIXIÈME
• CHAPITRE ONZIÈME
• CHAPITRE DOUZIÈME
• CHAPITRE TREIZIÈME
• CHAPITRE QUATORZIÈME
• CHAPITRE QUINZIÈME
• CHAPITRE SEIZIÈME
• CHAPITRE DIX−SEPTIÈME
• CHAPITRE DIX−HUITIÈME
• CHAPITRE DIX−NEUVIÈME
• CHAPITRE VINGTIÈME
• CHAPITRE VINGT ET UNIÈME
• CHAPITRE VINGT−DEUXIÈME
• CHAPITRE VINGT−TROISIÈME
• CHAPITRE VINGT−QUATRIÈME
• CHAPITRE VINGT−CINQUIÈME
• CHAPITRE VINGT−SIXIÈME
• CHAPITRE VINGT−SEPTIÈME
• CHAPITRE VINGT−HUITIÈME
• CHAPITRE VINGT−NEUVIÈME
• CHAPITRE TRENTIÈME



Voltaire





Nom de naissance François-Marie Arouet
Alias    Voltaire
Naissance  21 novembre 1694
Décès 30 mai 1778 (à 83 ans)  Paris
Activité principale Écrivain et philosophe

ชื่อตอนเกิด       François-Marie Arouet
สมญานาม        Voltaire
เกิด                    21 ธันวาคม 1694
ตาย                   30 พฤษภาคม 1694  (อายุ 83) ที่ปารีส
กิจกรรมหลัก    นักเขียนและนักปรัชญา


Candide
CHAPITRE PREMIER
COMMENT CANDIDE FUT ÉLEVÉ DANS UN BEAU CHÂTEAU, ET COMMENT IL FUT CHASSÉ
D'ICELUI
Il y avait en Westphalie, dans le château de M. le baron de Thunder−ten−tronckh, un jeune garçon à qui la
nature avait donné les moeurs les plus douces. Sa physionomie annonçait son âme. Il avait le jugement assez
droit, avec l'esprit le plus simple ; c'est, je crois, pour cette raison qu'on le nommait Candide. Les anciens domestiques de la maison soupçonnaient qu'il était fils de la soeur de monsieur le baron et d'un bon et honnête gentilhomme du voisinage, que cette demoiselle ne voulut jamais épouser parce qu'il n'avait pu prouver que soixante et onze quartiers, et que le reste de son arbre généalogique avait été perdu par l'injure du temps.
Monsieur le baron était un des plus puissants seigneurs de la Westphalie, car son château avait une porte et
des fenêtres. Sa grande salle même était ornée d'une tapisserie. Tous les chiens de ses basses−cours
composaient une meute dans le besoin ; ses palefreniers étaient ses piqueurs ; le vicaire du village était son
grand aumônier. Ils l'appelaient tous monseigneur, et ils riaient quand il faisait des contes.
Madame la baronne, qui pesait environ trois cent cinquante livres, s'attirait par là une très grande
considération, et faisait les honneurs de la maison avec une dignité qui la rendait encore plus respectable. Sa fille Cunégonde, âgée de dix−sept ans, était haute en couleur, fraîche, grasse, appétissante. Le fils du baron
paraissait en tout digne de son père. Le précepteur Pangloss était l'oracle de la maison, et le petit Candide
écoutait ses leçons avec toute la bonne foi de son âge et de son caractère.
Pangloss enseignait la métaphysico−théologo−cosmolonigologie.Il prouvait admirablement qu'il n'y a point
d'effet sans cause, et que, dans ce meilleur des mondes possibles, le château de monseigneur le baron était le
plus beau des châteaux et madame la meilleure des baronnes possibles.
« Il est démontré, disait−il, que les choses ne peuvent être autrement : car, tout étant fait pour une fin, tout est
nécessairement pour la meilleure fin. Remarquez bien que les nez ont été faits pour porter des lunettes, aussi
avons−nous des lunettes. Les jambes sont visiblement instituées pour être chaussées, et nous avons deschausses. Les pierres ont été formées pour être taillées, et pour en faire des châteaux, aussi monseigneur a un
très beau château ; le plus grand baron de la province doit être le mieux logé ; et, les cochons étant faits pour
être mangés, nous mangeons du porc toute l'année : par conséquent, ceux qui ont avancé que tout est bien ont
dit une sottise ; il fallait dire que tout est au mieux. »
Candide écoutait attentivement, et croyait innocemment ; car il trouvait Mlle Cunégonde extrêmement belle,
quoiqu'il ne prît jamais la hardiesse de le lui dire. Il concluait qu'après le bonheur d'être né baron de
Thunder−ten−tronckh, le second degré de bonheur était d'être Mlle Cunégonde ; le troisième, de la voir tous
les jours ; et le quatrième, d'entendre maître Pangloss, le plus grand philosophe de la province, et par
conséquent de toute la terre.
Un jour, Cunégonde, en se promenant auprès du château, dans le petit bois qu'on appelait parc, vit entre desbroussailles le docteur Pangloss qui donnait une leçon de physique expérimentale à la femme de chambre de
sa mère, petite brune très jolie et très docile. Comme Mlle Cunégonde avait beaucoup de dispositions pour les
sciences, elle observa, sans souffler, les expériences réitérées dont elle fut témoin ; elle vit clairement la
raison suffisante du docteur, les effets et les causes, et s'en retourna tout agitée, toute pensive, toute remplie
du désir d'être savante, songeant qu'elle pourrait bien être la raison suffisante du jeune Candide, qui pouvait
aussi être la sienne.
Elle rencontra Candide en revenant au château, et rougit ; Candide rougit aussi ; elle lui dit bonjour d'une
voix entrecoupée, et Candide lui parla sans savoir ce qu'il disait. Le lendemain après le dîner, comme on
sortait de table, Cunégonde et Candide se trouvèrent derrière un paravent ; Cunégonde laissa tomber sonmouchoir, Candide le ramassa, elle lui prit innocemment la main, le jeune homme baisa innocemment la
main de la jeune demoiselle avec une vivacité, une sensibilité, une grâce toute particulière ; leurs bouches se
rencontrèrent, leurs yeux s'enflammèrent, leurs genoux tremblèrent, leurs mains s'égarèrent. M. le baron de
Thunder−ten−tronckh passa auprès du paravent, et voyant cette cause et cet effet, chassa Candide du château
à grands coups de pied dans le derrière ; Cunégonde s'évanouit ; elle fut souffletée par madame la baronne
dès qu'elle fut revenue à elle−même ; et tout fut consterné dans le plus beau et le plus agréable des châteauxpossibles.




1
ก็องดิดด์ได้รับการศึกษาอบรมอย่างไร
ในปราสาทหลังงาม
และเขาถูกขับไล่จากปราสาทด้วยสาเหตุใด
ในแคว้นเวสท์ฟาลี   ณ ปราสาทของท่านบารอนธุนแดร์-เตน-ทรองค์  ยังมีชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งธรรมชาติได้เสกสรรให้เป็นผู้มีอุปนิสัยอ่อนโยนยิ่งนัก เครื่องหน้าก็บ่งบอกถึงจิตวิญญาณผู้เป็นเจ้าของ เขามีจิตวิญญาณที่ค่อนข้างเที่ยงตรง และมีความคิดไม่ซับซ้อน อาจจะด้วยเหตุผลนี้กระมังที่ทำให้ผู้คนเรียกเขาว่าก็องดิดด์ บรรดาคนรับใช้เก่าแก่ในปราสาทพากันสงสัยว่าเขาคงจะเป็นบุตรที่เกิดแต่น้องสาวของท่านบารอนกับขุนนางคนหนึ่งในละแวกใกล้เคียง แต่สตรีสูงศักดิ์นางนี้ไม่เคยปรารถนาจะแต่งงานกับขุนนางผู้นั้น ด้วยเหตุที่ตระกูลของขุนนางผู้นั้น ด้วยเหตุที่ตระกูลของขุนนางนั้นสืบสาวความเก่าแก่ไปได้เพียงสิบเอ็ดชั่วโครต ส่วนเถือกเถาเหล่ากอแห่งต้นตระกูลก่อนหน้านั้นได้สูญหายไปกับกาลเวลาเสียสิ้นแล้ว
            ท่านบารอนเป็นขุนนางผู้ทรงอำนาจคนหนึ่งของแคว้นเวสท์ฟาลีทีเดียว ด้วยว่าปราสาทของท่านมีประตูหนึ่งบานและหน้าต่างหลายบาน ผนังในห้องโถงใหญ่ประดับด้วยผ้าทอ ฝูงสุนัขเฝ้าปราสาททำหน้าที่เป็นสุนัขล่าเนื้อในยามออกล่าสัตว์ บรรดาคนเลี้ยงม้าก็กลายเป็นพรานควบคุมสุนัขล่าเนื้ออีกที พระประจำหมู่บ้านมีหน้าที่เป็นพระประจำตัวท่านบารอนด้วย ทุกคนเรียกท่านบารอนด้วยความเคารพอย่างสูงว่า ‘มงแซนเยอร์’   และพวกเขาจะหัวเราะรับคำสบถหรือคำพูดแดกดันของท่านบารอนแต่โดยดีทุกครั้ง
            ท่านบารอนเนสนั้นเล่า ด้วยน้ำหนักตัวประมาณสามร้อยห้าสิบปอนด์ ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกว่าน่านับถือ ท่าทีที่สูงส่งน่าเคารพยำเกรงของท่านนั้นดูจะเป็นเกียรติเป็นศรีแก่ปราสาทยิ่งนัก ธิดาของท่านชื่อกุเนก็องด์ อายุสิบเจ็ดปี มีผิวพรรณผุดผ่องสดใส รูปร่างอวดอัดน่าเชยชม บุตรของท่านบารอนก็สง่างามไม่น้อยหน้าผู้เป็นบิดา อาจารย์ปองโกลศเป็นเหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำปราสาท และหนุ่มน้อยก็องดิดด์ก็ฟังคำสอนของอาจารย์ด้วยความศรัทธายิ่ง ตามวัยและอุปนิสัยของเขา

           อาจารย์ปองโกลศนั้นสอนวิชาอภิปรัชเญ-เทววิทโย-จักร-วาโลโฉเกวิทยา อาจารย์ได้พิสูจน์อย่างน่าชื่นชมว่า ไม่มีผลที่ไร้เหตุ และว่าในโลกที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้นี้ ปราสาทของท่านบารอนเป็นปราสาทที่สวยงามที่สุด และภรรยาของท่านก็เป็นบารอนเนสที่ประเสิรฐที่สุด
“ได้มีการพิสูจน์แล้วว่า” อาจารย์กล่าว “สิ่งต่างๆในโลกนี้จะเป็นอื่นไปมิได้ ด้วยว่าทุกสิ่งทั้งปวงถูกสร้างขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างหนึ่ง ทุกสิ่งทั้งปวงจึงจำเป็นต้องเป็นไปเพื่อจุดมุ่งหมายที่ดีที่สุดเท่านั้น จงสังเกตดูให้ดีว่า จมูกนั้นมีไว้เพื่อรองรับแว่นตา ดังนั้นเราจึงมีแว่นตา ขาของเรานั้นก็เห็นได้ชัดเจนว่ามีไว้เพื่อสวมใส่ เราจึงมีกางเกง หินถูกสร้างขึ้นเพื่อนำมาตัดแกะใช้สร้างปราสาท มงแซนเยอร์จึงมีปราสาทที่สวยที่สุด บารอนผู้มีเกียรติยศสูงสุดของแคว้นความจะมีที่อยู่อาศัยที่ดีที่สุด และหมูก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเอาไว้กิน เราจึงกินเนื้อหมูตลอดทั้งปี ดังนั้น บุคคลที่กล่าวว่าทุกสิ่งทั้งปวงดีอยู่แล้วจึงเป็นคนที่พูดอย่างโง่เขลา เขาควรจะได้พูดว่า ทุกสิ่งทั้งปวงเป็นไปเพื่อสิ่งที่ดีกว่า”
           ก็องดิดด์ฟังอาจารย์สอนอย่างตั้งอกตั้งใจ และเชื่อตามโดยบริสุทธิ์ใจ เพราะเขาเองมีความเห็นว่า มาดมัวแซลล์กุเนก็องด์นั้นสวยงามเป็นที่สุด แม้เขาไม่เคยกล้าบอกกับเจ้าหล่อนก็องดิดด์ก็เลยสรุปว่า ความสุขในโลกนี้อันดับแรกก็คือการได้เกิดเป็นบารอนธุนแดร์-เตน-ทรองค์ ควมสุขอันดับที่สองคือการได้เป็นมาดมัวแซลล์กุเนก็องด์ ความสุขอันดับที่สามคือการได้เห็นมาดมัวแซลล์กุเนก็องด์ทุกวัน และความสุขอันดับที่สี่คือ ได้ฟังคำสอนของอาจารย์ปองโกลศนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของแคว้น ซิ่งย่อมยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกนี้
           วันหนึ่งกุเนก็องด์เดินเล่นอยู่ในป่าโปรงเล็กๆที่เรียกว่าอุทยานใกล้ๆปราสาท หล่อนบังเอิญมองลอดระหว่างพุ่มไม้เห็นอาจารย์ปองโกลศกำลังสอนบทเรียนว่าด้วยการทดลองทางกายภาพแก่สาวใช้ต้นห้องของมารดา แม่สาวนางนี้หน้าตาสวยงาม ผมสีน้ำตาล ซ้ำยังเป็นคนว่านอนสอนง่าย มาดมัวแซลล์กุเนก็องเองก็เป็นผู้มีความถนัดในบทเรียนวิทยาศาสตร์อยู่มาก หล่อนจึงเฝ้าสังเกตประสบการณ์ที่ประจักษ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่ตรงหน้าโดยไม่ส่งเสียง หล่อนได้เห็นชัดเจนถึงเหตุผลที่เพียงพอของอาจารย์ ความเป็นผลและความเป็นเหตุทั้งหลายทั้งปวง แล้วหล่อนก็เดินจากมาด้วยกายและใจที่สั่นสะท้าน  เฝ้าพินิจไตร่ตรองกระหายใคร่เป็นนักวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับอาจารย์ หล่อนคิดไปว่าตัวหล่อนน่าจะเป็น ‘เหตุผลที่เพียงพอ’ สำหรับหนุ่มน้อยก็องดิดด์ และเขาก็น่าจะเป็น ‘เหตุผลที่เพียงพอ’ สำหรับหล่อนเช่นกัน
           เมื่อเดินกลับถึงปราสาทก็ได้เผชิญหน้ากับก็องดิดด์ หล่อนจึงหน้าแดง หล่อนกล่าวทักทายด้วยเสียงที่ขาดหาย และก็องดิดด์ก็ได้พูดตอบหล่อนโดยมิรู้ว่าเขาได้กล่าวสิ่งใดออกไป
          วันรุ่งขึ้น หลังอาหารเย็น เมื่อกุเนก็องด์และก็องดิดด์ลุกจากโต๊ะอาหารแล้ว ทั้งสองก็พบกันที่หลังฉากบังตาบานหนึ่ง กุเนก็องด์ปล่อยผ้าเช็ดหน้าของหล่อนให้หล่นพื้น ก็องดิดด์หยิบขึ้นมาส่งให้ มือของหล่อนกุมมือของเขาไว้อย่างบริสุทธิ์ใจและด้วยความบริสุทธิ์ใจเช่นกัน หนุ่มน้อยก็ได้จุมพิตมือของสาวน้อยอย่างจริงใจ ด้วยอารมณ์ที่อ่อนไหว ท่วงท่าของเขาขณะจุมพิตก็ดูงามสง่ายากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน ริมฝีปากของทั้งคู่ได้แนบบรรจบกัน ดวงตานั้นเล่าก็โชนประกายประหนึ่งอัคคี หัวเข่าสั่นสะท้าน มือสะเปะสะปะไขว่คว้า ท่านบารอนธุนแดร์-เตน-ทรองค์เดินผ่านมาใกล้ฉากบังตา ได้เห็นความเป็นเหตุและความเป็นผลนี้ ท่านจึงขับก็องดิดด์ออกจากปราสาทด้วยการไล่เตะก้นของเขาหลายครั้ง กุเนก็องด์เป็นลมล้มพับไป ครั้นฟื้นตื่นขึ้นก็ถูกมารดาตบสั่งสอน และทุกคนในปราสาทที่สวยที่สุด และน่าอภิรมย์ที่สุดแห่งนี้ก็ตกอยู่ในภาวะตะลึงงัน

เชิงอรรถ
1. แคว้นเวสท์ฟาลี ( Westphalie )อยู่ห่างจากทิศตะวันตกของประเทศเยอรมนี
2. วอลแตร์ตั้งชื่อบารอนเลียนสำเนียงเยอรมันที่ค่อนข้างจะกระชากดุดัน อย่างไรก็ตามคำแรกเขียนว่า Thunder ตรงกับคำภาษาอังกฤษที่แปลว่าฟ้าผ่า
3. มงแซนเยอร์( Monseigneur )เป็นคำที่ใช้เรียกเชื่อพระวงระดับสูง






การวิเคราะห์
ก็องดิดด์เป็นนวนิยายเชิงปรัชญา  ประเภทร้อยแก้ว (la prose)ผู้แต่งคือวอลแตร์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถทางวรรณศิลป์อย่างหาที่เปรียบมิได้ วอลแตร์แต่งปรัชญานิยายเรื่องก็องดิดด์ขึ้นโดยใช้รูปแบบร้อยแก้วเชิงเสียดสี ใช้เทคนิคการบรรยายแบบ ‘l’ironie’ ที่ใช้คำพูดที่มีความหมายขัดแย้งกันอย่างรุนแรงกับเนื้อเรื่องที่เกิดขึ้น ดำเนินเรื่องแบบนิยาย โดยถ่ายทอดเรื่องราวผ่านแนวคิดตัวละคร สร้างอรรถรสด้วยการบรรยายฉาก และองค์ประกอบของเรื่อง ผู้แต่งสอดแทรกแนวคิดเชิงปรัชญา และความเป็นจริงในโลกตลอดการดำเนินเรื่องโดยผู้แต่งใช้ชื่อเรื่อง ก็องดิดด์ มีความหมายว่า เชื่อง่าย ซื่อ บริสุทธิ์ จริงใจ เปิดเผย อ่อนต่อโลก หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ l’optimisme เป็นแนวคิดปรัชญาหมายถึงการมองโลกในแง่ดี
มีการใช้ temps ในการเขียนหลากtemps เช่น
Imparfait =  Il avait le jugement assez droit.
Présent =  Les jambes sont visiblement instituées pour être chausses.

ในตลอดการดำเนินเรื่องมีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนเพื่อให้ทราบอารมณ์ ความรู้สึกในตอนนั้นๆ และเพื่อเป็นการขยายความเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจนมากขึ้น มีคำศัพท์เฉพาะ และมีคำศัพท์ที่ยากพอสมควร การเล่าดำเนินเรื่องใช้ผู้แต่งเป็นผู้เล่า โดยไม่ได้ใช้การเล่าดำเนินเรื่องผ่านตัวละครหลัก มีการดำเนินเรื่องโดยมีการใช้บทสนทนาโต้ตอบกันระหว่างตัวละครในเรื่อง มีการเล่าบรรยายแบบพรรณนาโวหาร ทำให้เห็นภาพ และเกิดจิตนภาพในการอ่าน
           ในตอนที่1ก็องดิดด์ได้มีความเชื่อในคำสอนของอาจารย์ปองโกลศอย่างมาก ด้วยความที่ก็องดิดด์เป็นคนเชื่อคนง่าย และอ่อนต่อโลก ผู้แต่งได้ให้อาจารย์ปองโกลศเป็นผู้ที่มีแนวคิดในด้านการมองโลกในแง่ดี คือเชื่อว่าทุกสิ่งทั้งปวงในโลกเป็นไปเพื่อจุดมุ่งหมายที่ดีที่สุด ดั่งเช่น จมูกนั้นมีไว้เพื่อรองรับแว่นตาหินถูกสร้างขึ้นเพื่อนำมาตัดแกะใช้สร้างปราสาท ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกสร้างมาเพื่อความเป็นเหตุเป็นผลกัน ก็องดิดด์และกุเนก็องด์ก็เชื่อ และศรัทธาในคำสอนของอาจารย์ปองโกลศ  การที่ผู้แต่งได้สะท้อนแนวคิดการมองโลกในแงดีนี้ผ่านตัวละคร คือ อาจารย์ปองโกลศนั้น เป็นการเสียดสีโจมตีความคิดที่สอนให้คนมองโลกในแง่ดีโดยไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงหรือ ลัทธิสุทรรศนิยมของไลบ์นิซ นักปราชญ์ชาวเยอรมันในศตวรรษที่ 17 ที่เชื่อว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างที่พระเจ้าประทานมาเป็นไปด้วยดีและทุกสิ่งทุกอย่างที่ดำเนินไปนั้นเป็นไปเพื่อสิ่งที่ดีกว่าเสมอ” แต่วอลแตร์ไม่คิดอย่างนั้น เขามีความคิดสนับสนุนการกระทำ อันจะเห็นได้จากการที่เขาเป็นสมาชิกในสมาคมคณิตศาสตร์ เขาสนับสนุนแนวคิดของนิวตันที่เชื่อว่าความจริงทั้งหลายนั้นต้องได้มาจากการพิสูจน์และทดลองทำให้เราได้คิดย้อนไปว่า ทุกสิ่งในโลกเป็นไปด้วยดีจริงหรือ
           ผู้แต่งมีการดำเนินเรื่องโดยการสอดแทรกเรื่องราวความรัก ของก็องดิดด์ที่มีให้กุเนก็องด์ ซึ่งเป็นความรักที่ยังไม่สมหวัง เมื่อท่านบารอนธุนแดร์-เตน-ทรองค์ไม่พอใจและได้ขับไล่ก็องดิดด์ออกจากแคว้นเวสท์ฟาลี ที่ก็องดิดด์เชื่อว่าเป็นที่ที่ดีที่สุดและสวยงามที่สุด ที่เชื่อเช่นนั้นเพราะยังไม่ได้ลองออกไปพบเจอเมืองอื่นๆ จึงคิดว่านั้นเป็นที่ที่ดีที่สุดแล้ว  เมื่อก็องดิดด์ถูกขับไล่ออกจากแคว้น นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ก็องดิดด์ได้เดินทางไปยังเมื่องต่างๆ ในยุโรป ผู้แต่งได้แต่งบทเปิดเรื่องมาด้วยความน่าสนใจ ชวนให้ติดตาม และผูกเรื่องได้มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน







CHAPITRE TRENTIÈME
CONCLUSION
Candide, dans le fond de son coeur, n'avait aucune envie d'épouser Cunégonde. Mais l'impertinence extrême
du baron le déterminait à conclure le mariage, et Cunégonde le pressait si vivement qu'il ne pouvait s'en
dédire. Il consulta Pangloss, Martin et le fidèle Cacambo. Pangloss fit un beau mémoire par lequel il prouvait
que le baron n'avait nul droit sur sa soeur, et qu'elle pouvait, selon toutes les lois de l'Empire, épouser
Candide de la main gauche. Martin conclut à jeter le baron dans la mer. Cacambo décida qu'il fallait le rendre
au levanti patron et le remettre aux galères ; après quoi on l'enverrait à Rome au père général par le premier vaisseau. L'avis fut trouvé fort bon ; la vieille l'approuva ; on n'en dit rien à sa soeur ; la chose fut exécutée
pour quelque argent, et on eut le plaisir d'attraper un jésuite et de punir l'orgueil d'un baron allemand.
Il était tout naturel d'imaginer qu'après tant de désastres, Candide, marié avec sa maîtresse et vivant avec le
philosophe Pangloss, le philosophe Martin, le prudent Cacambo et la vieille, ayant d'ailleurs rapporté tant de
diamants de la patrie des anciens Incas, mènerait la vie du monde la plus agréable ; mais il fut tant friponné
par les Juifs qu'il ne lui resta plus rien que sa petite métairie ; sa femme, devenant tous les jours plus laide,
devint acariâtre et insupportable ; la vieille était infirme et fut encore de plus mauvaise humeur que
Cunégonde. Cacambo, qui travaillait au jardin, et qui allait vendre des légumes à Constantinople, était excédé
de travail et maudissait sa destinée. Pangloss était au désespoir de ne pas briller dans quelque université
d'Allemagne. Pour Martin, il était fermement persuadé qu'on est également mal partout ; il prenait les choses
en patience. Candide, Martin et Pangloss disputaient quelquefois de métaphysique et de morale. On voyait
souvent passer sous les fenêtres de la métairie des bateaux chargés d'effendis, de bachas, de cadis, qu'on
envoyait en exil à Lemnos, à Mitylène, à Erzeroum. On voyait venir d'autres cadis, d'autres bachas, d'autres
effendis, qui prenaient la place des expulsés et qui étaient expulsés à leur tour. On voyait des têtes
proprement empaillées qu'on allait présenter à la Sublime Porte. Ces spectacles faisaient redoubler les
dissertations ; et quand on ne disputait pas, l'ennui était si excessif que la vieille osa un jour leur dire : « Je
voudrais savoir lequel est le pire, ou d'être violée cent fois par des pirates nègres, d'avoir une fesse coupée, de
passer par les baguettes chez les Bulgares, d'être fouetté et pendu dans un auto−da−fé, d'être disséqué, de
ramer en galère, d'éprouver enfin toutes les misères par lesquelles nous avons tous passé, ou bien de rester icià ne rien faire ? C'est une grande question », dit Candide.
Ce discours fit naître de nouvelles réflexions, et Martin surtout conclut que l'homme était né pour vivre dans
les convulsions de l'inquiétude, ou dans la léthargie de l'ennui. Candide n'en convenait pas, mais il n'assurait
rien. Pangloss avouait qu'il avait toujours horriblement souffert ; mais ayant soutenu une fois que tout allait à
merveille, il le soutenait toujours, et n'en croyait rien.
Une chose acheva de confirmer Martin dans ses détestables principes, de faire hésiter plus que jamais
Candide, et d'embarrasser Pangloss. C'est qu'ils virent un jour aborder dans leur métairie Paquette et le frèreGiroflée, qui étaient dans la plus extrême misère ; ils avaient bien vite mangé leurs trois mille piastres,
s'étaient quittés, s'étaient raccommodés, s'étaient brouillés, avaient été mis en prison, s'étaient enfuis, et enfin
frère Giroflée s'était fait turc. Paquette continuait son métier partout, et n'y gagnait plus rien. « Je l'avais bien
prévu, dit Martin à Candide, que vos présents seraient bientôt dissipés et ne les rendraient que plus
misérables. Vous avez regorgé de millions de piastres, vous et Cacambo, et vous n'êtes pas plus heureux que
frère Giroflée et Paquette. Ah, ah !dit Pangloss à Paquette, le ciel vous ramène donc ici parmi nous, ma
pauvre enfant ! Savez−vous bien que vous m'avez coûté le bout du nez, un oeil et une oreille ? Comme vous
voilà faite ! Et qu'est−ce que ce monde !» Cette nouvelle aventure les engagea à philosopher plus que jamais.
Il y avait dans le voisinage un derviche très fameux, qui passait pour le meilleur philosophe de la Turquie ; ils
allèrent le consulter ; Pangloss porta la parole, et lui dit : « Maître, nous venons vous prier de nous dire
pourquoi un aussi étrange animal que l'homme a été formé.
De quoi te mêles−tu ?dit le derviche, est−ce là ton affaire ? Mais, mon Révérend Père, dit Candide, il y a
horriblement de mal sur la terre. _ Qu'importe, dit le derviche, qu'il y ait du mal ou du bien ? Quand Sa
Hautesse envoie un vaisseau en Égypte, s'embarrasse−t−elle si les souris qui sont dans le vaisseau sont à leur
aise ou non ? Que faut−il donc faire ?dit Pangloss. Te taire, dit le derviche. Je me flattais, dit Pangloss,
de raisonner un peu avec vous des effets et des causes, du meilleur des mondes possibles, de l'origine du mal,
de la nature de l'âme et de l'harmonie préétablie. » Le derviche, à ces mots, leur ferma la porte au nez.
Pendant cette conversation, la nouvelle s'était répandue qu'on venait d'étrangler à Constantinople deux vizirs
du banc et le muphti, et qu'on avait empalé plusieurs de leurs amis. Cette catastrophe faisait partout un grand
bruit pendant quelques heures. Pangloss, Candide et Martin, en retournant à la petite métairie, rencontrèrent
un bon vieillard qui prenait le frais à sa porte sous un berceau d'orangers. Pangloss, qui était aussi curieux que
raisonneur, lui demanda comment se nommait le muphti qu'on venait d'étrangler. « Je n'en sais rien, répondit
le bonhomme, et je n'ai jamais su le nom d'aucun muphti ni d'aucun vizir. J'ignore absolument l'aventure dont
vous me parlez ; je présume qu'en général ceux qui se mêlent des affaires publiques périssent quelquefois
misérablement, et qu'ils le méritent ; mais je ne m'informe jamais de ce qu'on fait à Constantinople ; je me
contente d'y envoyer vendre les fruits du jardin que je cultive. » Ayant dit ces mots, il fit entrer les étrangers
dans sa maison : ses deux filles et ses deux fils leur présentèrent plusieurs sortes de sorbets qu'ils faisaient
eux−mêmes, du kaïmac piqué d'écorces de cédrat confit, des oranges, des citrons, des limons, des ananas, despistaches, du café de Moka qui n'était point mêlé avec le mauvais café de Batavia et des îles. Après quoi les
deux filles de ce bon musulman parfumèrent les barbes de Candide, de Pangloss et de Martin.
« Vous devez avoir, dit Candide au Turc, une vaste et magnifique terre ? Je n'ai que vingt arpents, répondit
le Turc ; je les cultive avec mes enfants ; le travail éloigne de nous trois grands maux : l'ennui, le vice, et le
besoin. »
Candide, en retournant dans sa métairie, fit de profondes réflexions sur le discours du Turc. Il dit à Pangloss
et à Martin : « Ce bon vieillard me paraît s'être fait un sort bien préférable à celui des six rois avec qui nous
avons eu l'honneur de souper.  Les grandeurs, dit Pangloss, sont fort dangereuses, selon le rapport de tous
les philosophes : car enfin Églon, roi des Moabites, fut assassiné par Aod ; Absalon fut pendu par les cheveux
et percé de trois dards ; le roi Nadab, fils de Jéroboam, fut tué par Baaza ; le roi Éla, par Zambri ; Ochosias,
par Jéhu ; Athalia, par Joïada ; les rois Joachim, Jéchonias, Sédécias, furent esclaves. Vous savez comment
périrent Crésus, Astyage, Darius, Denys de Syracuse, Pyrrhus, Persée, Annibal, Jugurtha, Arioviste, César,
Pompée, Néron, Othon, Vitellius, Domitien, Richard II d'Angleterre, Édouard II, Henri VI, Richard III, Marie
Stuart, Charles Ier, les trois Henri de France, l'empereur Henri IV ? Vous savez...  Je sais aussi, dit Candide,
qu'il faut cultiver notre jardin. Vous avez raison, dit Pangloss : car, quand l'homme fut mis dans le jardin
d'Éden, il y fut mis ut operaretur eum, pour qu'il travaillât, ce qui prouve que l'homme n'est pas né pour le
repos. Travaillons sans raisonner, dit Martin ; c'est le seul moyen de rendre la vie supportable. »
Toute la petite société entra dans ce louable dessein ; chacun se mit à exercer ses talents. La petite terre
rapporta beaucoup. Cunégonde était à la vérité bien laide ; mais elle devint une excellente pâtissière ;
Paquette broda ; la vieille eut soin du linge. Il n'y eut pas jusqu'à frère Giroflée qui ne rendît service ; il fut un
très bon menuisier, et même devint honnête homme ; et Pangloss disait quelquefois à Candide : « Tous les
événements sont enchaînés dans le meilleur des mondes possibles ; car enfin, si vous n'aviez pas été chassé
d'un beau château à grands coups de pied dans le derrière pour l'amour de Mlle Cunégonde, si vous n'aviez
pas été mis à l'Inquisition, si vous n'aviez pas couru l'Amérique à pied, si vous n'aviez pas donné un bon coup
d'épée au baron, si vous n'aviez pas perdu tous vos moutons du bon pays d'Eldorado, vous ne mangeriez pas
ici des cédrats confits et des pistaches. _ Cela est bien dit, répondit Candide, mais il faut cultiver notre jardin.»


30

ความสรุป
ในก้นบึ้งหัวใจของก็องดิดด์นั้นมิมีความปรารถนาจะวิวาห์กับกุเนก็องด์อีกแล้ว แต่การขาดความเคารพผู้อื่นของบารอนทำให้เขาต้องการแต่งงาน กุเนก็องด์ก็เร่งเร้าเสียจนเขามิอาจถอนคำพูดได้ เขาจึงปรึกษาปองโกลศ  มาร์แต็งและกะกอมโบ ผู้ซื่อสัตย์ ปองโกลศเขียนเรียงความขนาดยาวพิสูจน์ว่า บารอนไม่มีสิทธิ์เหนือตัวพี่สาวของเขา นอกจากนี้ตามกฎหมายของจักรวรรดิเยอรมนี หล่อนอาจแต่งงานกับก็องดิดด์ได้ด้วยการยื่นมือซ้ายให้ มาร์แต็งสรุปว่าควรโยนบารอนลงทะเลไปกะกอมโบเห็นว่าควรส่งตัวคืนเจ้าของเรื่องชาวบูรพา ให้เป็นฝีพายต่อไป แล้วส่งตัวไปยังท่านอธิการผู้เป็นใหญ่ที่กรุงโรมทันทีที่พบเรือสมุทรลำแรก ความคิดนี้เป็นที่เห็นชอบของทุกคนรวมทั้งหญิงชรา ไม่มีใครบอกแผนการนี้แก่กุเนก็องด์และการณ์ก็เป็นไปตามนั้นโดยเสียเงินเพียงเล็กน้อย ทุกคนพอใจที่ได้ดัดสันดานพระนักบวชเยซูอิตพร้อมกับได้ลงโทษความเย่อหยิ่งของบารอนเยอรมนี
           เป็นเรื่องธรรมดาที่จะนึกภาพว่า หลังจากเผชิญภัยพิบัติมามากมาย ก็องดิดด์ซึ่งแต่งงานกับหญิงคนรัก ได้อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกันกับนักปรัชญาปองโกลศ นักปรัชญามาร์แต็ง กะกอมโบผู้รองคอบ รวมทั้งหญิงชรา และยังมีเพชรจำนวนมากที่นำติดตัวมาจากมาตุภูมิแห่งชาวอินคา ย่อมดำรงชีวิตอย่างสะดวงสบายเป็นที่ยิ่ง ทว่าเขาถูกพวกยิวโกงบ่อยครั้งจนเหลือเพียงที่ดินผืนเล็กๆนั้น เมียของเขาก็อัปลักษณ์มากขึ้นทุกวัน ซ้ำยังกลายเป็นหญิงอารมณ์ร้ายยิ่งกว่ากุเนก็องด์ กะกอมโบปลูกผักอยู่ผู้เดียว รวมทั้งต้องเดินทางไปขายที่คอนสแตนติโนเปิลด้วย จึงเหนื่อยหนักกว่าผู้ใด เขาก่นด่าชะตาชีวิตของตน ปองโกลศก็เศร้าใจ ด้วยสิ้นหวังจะอวดภูมิรู้อันปราดเปรื่องในมหาวิทยาลัยของเยอรมนีสักแห่งหนึ่ง ส่วนมาร์แต็งนั้นแน่ใจยิ่งนักว่า แม้อยู่แห่งหนใดก็จะประสบความเลวร้ายดุจกัน เขาจึงมิได้กระวนกระวายใจมิแต่น้อย

บางครั้ง ก็องดิดด์ มาร์แต็ง และปองโกลศ ก็ถกเถียงกันเรื่องอภิปรัชญาและเรื่องศีลธรรม และบ่อยครั้งที่ได้เห็นเรือบรรทุกบุคคลผู้ถูกเนรเทศแล่นผ่านใต้หน้าต่างบ้าน คนเหล่านั้นดำรงตำแหน่งสำคัญของทางรัฐและทางศาสนาแห่งจักรวรรดิออตโอมาน พวกเขาถูกนำตัวไปยังเกาะเล็มโนส เกาะมิตติแลน และเกาะแอร์เซอรูม ได้เห็นพวกบุคคลสำคัญชุดใหม่นั่งเรือมาแทนที่ชุดเก่า แล้วก็ถูกเนรเทศไปเมื่อถึงคราวของตน เห็นศีรษะที่ถูกตัดยัดไส้ฟางซึ่งจะนำไปเสนอต่อราชสำนักแห่งองค์สุลต่านสิ่งที่เห็นเหล่านี้เป็นหัวข้อการถกถียงสนทนาทุกครั้ง ทว่าเมื่อหมดเรื่องจะสนทนาโต้ตอบกัน ต่างก็รู้สึกเบื่อหน่าย ความเบื่อหน่ายทวีขึ้นเรื่อยๆ จนหญิงชราถึงกับกล้าพูดใส่หน้าคนอื่น
“ อิฉันอยากจะรู้นักว่า อย่างไหนจะเลวร้ายกว่ากัน ระหว่างการถูกขืนใจร้อยครั้งโดยโจรสลัดผิวดำ ถูกตัดก้นข้างหนึ่ง ถูกทหารบุลกาเลียโบยตี ถูกเฆี่ยนและถูกแขวนคอในพิธีเผาคนทั้งเป็น ถูกผ่าชำแหละ เป็นนักโทษฝีพาย ทนนทุกข์ต่อความทรมานทั้งปวงทุกประการที่ได้ทนมา กับการต้องอยู่ที่นี่โดยมิได้ทำสิ่งใด”
“นี่เป็นคำถามที่ยิ่งใหญ่” ก็องดิดด์กล่าว
           ถ้อยคำของหญิงชราก่อให้เกิดการใช้ความคิดใหม่ๆ มาร์แต็งสรุปว่า มนุษย์เกิดมาเพื่ออยู่ในวังวนแห่งความทุกข์กังวลหรือต้องจำยอมทนต่อสิ่งที่ตนเบื่อหน่าย ก็องดิดด์ไม่เห็นด้วยแต่เขาก็มิได้แสดงความเห็นอื่น ปองโกลศยอมรับว่าเขาต้องทนทุกข์หนักมาตลอดเวลา ทว่า ในเมื่อเขาเคยพูดว่าทุกสิ่งทั้งปวงเป็นไปอย่างวิเศษสุด เขาก็ยังยืนยันเช่นนั้นตลอดไป แม้จะมิเชื่อในสิ่งที่เขายืนยัน
           มีเรื่องเกิดขึ้นเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่ตอกย้ำว่าหลักการอันพึงรังเกียจของมาร์แต็งเป็นจริง เรื่องที่ทำให้ก็องดิดด์ลังเลใจมากกว่าครั้งก่อนๆ และเป็นเรื่องซึ่งทำให้ปองโกลศยิ่งตะขิดตะขวงในใจ นั่นก็คือทั้งสามได้เห็นปาแกตต์และหลวงพี่จอโรเฟล่ในสภาพทุกข์ยากเป็นที่สุด เดินเข้ามาในที่พำนัก ทั้งสองได้เขมือบเงินสามพันปิยัสตร์อย่างรวดเร็ว ได้แยกจากกัน กลับมาหากัน ทะเลาะกัน ถูกจำขังคุก หนีออกมาได้ ในที่สุด หลวงพี่จิเฟล่ได้ถือสัญชาติเติร์ก ปาแกตต์หันไปยึดอาชีพเดิมทุกแห่งหนโดยไม่เลือก แม้มิได้ค่าจ้างเสมอไป
           “ ข้าพเจ้าเคยเตือนท่านแล้ว” มาร์แต็งพูดกับก็องดิดด์
           “ว่าเงินที่ท่านให้พวกเขาเป็นของขวัญจะหมดไปโดยเร็ว และยังจะทำให้พวกเขาทุกข์ยากกว่าเดิมเสียอีก ท่านเองกับกะกอมโบก็มีเงินเป็นล้านๆ ทว่า ท่านก็มิได้มีความสุขมากกว่าหลวงพี่จิโรเฟล่และปาแกตต์”
           “แน่ะ แม่ปาแกตต์” ปองโกลศพูด “สวรรค์ส่งเจ้ากลับมาอยู่กับพวกเราอีก แม่สาวที่น่าสงสาร เจ้ารู้ไหมว่าเจ้าทำให้ข้าต้องสูญเสียปลายจมูก รวมทั้งตาและหูอย่างละหนึ่ง ดูสารรูปของเจ้าตอนนี้สิ โลกของเรานี้เป็นอะไรไปแล้วหนอ”
           การผจญภัยของปาแกตต์และหลวงพี่จิโรเฟล่ทำให้พวกเขาถกเถียงคิดค้นเชิงปรัชญากันมากกว่าครั้งใดๆ
           ในบริเวณใกล้เคียงกันนั้น มีนักบวชชาวเติร์กรูปหนึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือว่าเป็นนักปราชญ์ผู้ฉลาดที่สุดของตุรกี ก็องดิดด์ ปองโกลศและมาร์แต็งจึงไปเยี่ยมคำนับเพื่อขอคำแนะนำ ปองโกลศเป็นผู้แทนในการเจรจา
           “ท่านผู้อาวุโส พวกเรามาขอให้ท่านช่วยอธิบายว่า เหตุใดสัตว์โลกที่แปลกประหลาดเยี่ยงมนุษย์นี้จึงถูกสร้างขึ้นมา”
           “เจ้าเกี่ยวอันใดกับเรื่องนี้”  นักบวชย้อนกลับ “นี่มันธุระของเจ้าหรือ”
           “แต่หลวงพ่อขอรับ” ก็องดิดด์พูด “ในโลกนี้ช่างมีแต่สิ่งเลวร้ายอันน่าสะพรึงกลัว”
           “จะมีแต่สิ่งเลวร้ายหรือสิ่งดีงาม ก็ช่างมันเถิด” นักบวชตอบ
           “เมื่อองค์สุลต่านส่งเรือเดินสมุทรไปยังอียิปต์ พระองค์ทรงสนพระทัยหรือไม่ว่า หนูทั้งหลายในเรือจะสะดวกสบายหรือจะลำบาก”
           “เมื่อเป็นเช่นนั้น ควรจะทำอย่างไรเล่า” ปองโกลศถาม
           “จงเงียบเสีย” นักบวชตอบ
           “ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียติอย่างยิ่ง” ปองโกลศกล่าว “ที่ได้สนทนาหาตุผลกับท่านบ้างเกี่ยวกับความเป็นผลและความเป็นเหตุ เกี่ยวกับโลกที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ดวงนี้ เกี่ยวกับบ่อเกิดแห่งความเลวร้าย เกี่ยวกับธรรมชาติของจิตวิญญาณ และความประสมกลมกลืนที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเสกสร้าง”
          เมื่อได้ยินคำกล่าวทั้งสิ้น นักบวชชาวเติร์กก็ปิดประตูใส่หน้าคนเหล่านั้น
           ระหว่างการสนทนานี้ เกิดมีข่าวร่ำลือสะพัดไปทั่วว่าวิซีร์ สองคนและประมุขศาสนาถูกประสั่งประหารด้วยการรัดคอ ณ กรุงคอนสแตนติโนเปิล พวกพ้องของบุคคลทั้งสามก็ถูกแทงจนตายเป็นจำนวนมาก ภัยพิบัติจากน้ำมือมนุษย์นี้กระหึ่มไปทั่วเป็นเวลาหลายชั่วโมง
           ขณะเดินทางกลับที่พัก ปองโกลศ ก็องดิดด์และมาร์แต็งได้พบผู้เฒ่าใจดีคนหนึ่งซึ่งออกมานั่งรับลมอยู่ใต้ซุ้มต้นส้ม ปองโกลศนั้นอย่างรู้อย่างเห็นเช่นเดียวกับที่ชอบหาเหตุผล เขาจึงถามผู้เฒ่าว่า ประมุขศาสนาที่เพิ่งถูกรัดคอนั้นมีนามใด
           “ข้าไม่รู้ทั้งสิ้น” ผู้เฒ่าใจดีตอบ “และข้าไม่เคยรู้ชื่อประมุขศาสนาคนใด หรือชื่อของวิซีร์คนใด ข้าไม่เคยรู้เรื่องที่ท่านเพิ่งกล่าวถึงเลย ข้ามีความเห็นว่า โดยทั่วไปแล้วคนที่ชอบยุ่งกับเรื่องของรัฐจะถึงแก่ความตายอย่างน่าสงสารในบางครั้ง และก็เป็นสิ่งสมควรสำหรับเขา ข้ามิเคยสนใจใคร่รู้เรื่องใดๆ ซึ่งเกิดขึ้น ณ กรุงคอนสแตนติโนเปิล ข้าพอใจที่ได้ส่งผลไม้ซึ่งข้าปลูกในสวนของข้าไปขายที่นั่นเท่านั้น”
           ครั้นกล่าวจบ ผู้เฒ่าก็เชิญอาคันตุกะเข้าไปในบ้าน ธิดาสองคนและบุตรสองคนของเขานำเครื่องดื่มทำเองจากน้ำผลไม้ต่างๆเจือน้ำตาลมาให้ รวมทั้งขนมหวานชื่อไกย์มัคโรยเปลือกผลไม้ ผลเซดร้าท์เชื่อม ส้ม มะนาวเหลือง มะนาวเขียว สับปะรด ถั่วปิสตาชิโย กาแฟมอคคาบริสุทธิ์มิได้เจอปนกาแฟจากปัตตาเวียและจากหมู่เกาะต่างๆ เมื่อกินเสร็จแล้ว ธิดาทั้งสองของชายอิสลามใจดีผู้นี้ก็นำน้ำหอมมาประพรมหนวดเคราของก็องดิดด์ ปองโกลศและมาร์แต็ง
           “ท่านคงจะมีที่ดินอันกว้างใหญ่ไพศาลและอุดมสมบูรณ์” ก็องดิดด์กล่าวแก่ผู้เฒ่า
           “ข้ามีเพียงสี่สิบสองไร่ สองงาน” ผู้เฒ่าชาวเติร์กตอบ “ข้าเพาะปลูกกับลูกๆของข้า การทำงานย่อมขจัดสิ่งเลวร้าย สามประการให้พ้นจากตัวเรา นั่นคือ ความเบื่อหน่าย ความชั่วและความจำเป็น”
           ระหว่างเดินทางกลับที่พำนัก ก็องดิดด์ครุ่นคิดถึงถ้อยคำของผู้เฒ่า เขากล่าวแก่ปองโกลศและมาร์แต็ง
           “ดูเหมือนว่าผู้เฒ่าใจดีผู้นี้กำหนดชะตาชีวิตของตนได้ดีกว่ากษัตริย์หกพระองค์ที่เรามีเกียติได้ร่วมโต๊ะเสวย
           “ความยิ่งใหญ่มักจะเป็นอันตราย” ปองโกลศแจง “ตามที่นักปรัชญาคนได้บันทึกรายงานไว้ เพราะว่าในที่สุด เอ-กล็ง ผู้เป็นราชาแห่งโมอาบิทส์ก็ถูกโอดด์ฆ่า อาบาซาล็งถูกแขวนคอโดยใช้ม้าลากและถูกเสียบด้วยแหลมสามเล่ม ราชานาดับโอรสของเจโรโบมก็ถูกสังหารโดยบาซา ราชาเอล่าสิ้นพระชนม์ด้วยน้ำมือของซำบรี โอโชซิอัสก็สวรรคตด้วยฝีมือเยหุ อาตาลีถูกสังหารโดยโยไอดา ราชายัวคิม ราชาโยเคนิอัสและราชาเซเดเซียสทรงกลายเป็นทาส เจ้ารู้ไหมว่า เครซุส อัสติยาช ดาไรอัส เดอนิสแห่งซีราคิวส์ ปิรัส   แปร์เซ่ย์ อันนิบาล ยูกูร์ธา อาริยอวิสต์ ซีซาร์ ปอมเปอิ เนโร โอตง วิเธลลิอุส ดอมิเธียง ริชาร์ดที่สองแห่งอังกฤษ เอ็ดเวิร์ดที่สอง เฮนรี่ที่หก ริชาร์ดที่สาม มารี สจ๊วต ชาร์ลสฺที่หนึ่ง เฮ็นรี่ทั้งสามพระองค์แห่งฝรั่งเศส จักรพรรดิเฮ็นรี่ที่สี่ จักรพรรดิและกษัตริย์ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวพระนามมานี้สิ้นพระชนม์ไปอย่างไร เจ้ารู้ไหม”
           “กระผมรู้ว่า” ก็องดิดด์ตัดบท “เราควรทำสวนของเรา”
           “เจ้าพูดถูก”  ปองโกลศตอบ “เพราะว่าเมื่อมนุษย์ถูกนำมาอยู่ในสวนอีเดนนั้น มีผู้ให้เครื่องมือแก่เขาเพื่อทำงานในสวนด้วย”
           “คงทำงานโดยไม่ต้องพูดหาเหตุผล” มาร์แต็งตัดบท
           “นี่เป็นวิธีเดียวที่พอจะทำให้เราอดทนต่อการมีชีวิตอยู่ได้บ้าง”
           สังคมน้อยๆนี้ก็ร่วมมือกันทำการตามเป้าหมาย แต่ละคนใช้ความสามารถของตน ที่ดินผืนน้อยจึงได้ผลิตผลมากมาย แม้กุเนก็องด์จะอัปลักษณ์ แต่หล่อนก็ทำขนมอร่อยที่สุด ปาแกตต์เย็บปักถักร้อย หญิงชราซักรีดเสื้อผ้า แม้แต่หลวงพี่จิโรเฟล่ก็เข้าร่วมทำงานด้วย เขาเป็นช่างไม้ที่ชำนาญมากและกลายเป็นคนมีมรรยาทดี
          บางครั้ง ปองโกลศก็พูดกับก็องดิดด์ว่า
           “เหตุการณ์ทั้งหลายทั้งปวงย่อมมีความต่อเนื่องกันในโลกที่ดีที่สุด ด้วยว่าแท้จริงแล้ว ถ้าเจ้ามิได้ถูกไล่เตะก้นออกจากปราสาทหลังงามด้วยเหตุที่เจ้ามีความรักต่อมาดมัวแซลล์กุเนก็องด์ หากเจ้าไม่ได้ถูกศาลศาสนาขับไล่ มาตรว่าเจ้ามิได้เดินเท้าข้ามมาทวีปอเมริกาใต้ แม้นเจ้ามิได้แทงบารอนจนทะลุร่าง ผิว่าเจ้ามิได้สูญเสียแกะจากเอลโดราโดอันอุดมไปทั้งหมด แล้วไซร้เจ้าก็จะมิได้กินผลเซดร้าท์เชื่อมและถั่วปิสตาชิโยที่นี่”
           “ท่านกล่าวได้ดีแท้” ก็องดิดด์ตอบ
           “ทว่า เราควรทำสวนของเรา”



บทวิเคราะห์ บทที่30

           ผู้แต่งมีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนตลอดการดำเนินเรื่อง ทำให้ผู้อ่านเข้าใจอารมณ์ที่ผู้แต่งต้องการจะสื่อผ่านตัวละคร และเข้าใจแนวคิดที่ผู้แต่งต้องการจะสื่อ เป็นแนวหลักปรัชญา ส่วนใหญ่ใช้ temps  imparfait เช่น  Il était tout naturel d'imaginer qu'après tant de désastres. ในการดำเนินเรื่อง เพื่อแสดงให้เห็นเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมายาวนาน มีการใช้ศัพท์เฉพาะ และมีคำศัพท์ยากมากพอสมควร ผู้แต่งใช้การคุยโต้ตอบกันในรูปแบบการสนทนา โดยผู้แต่งเป็นผู้เล่าเรื่อง ดำเนินเรื่อง โดยไม่ได้ใช้ตัวละครหลักเป็นตัวเล่าเรื่อง
           ในตอนที่ 30 เป็นตอนจบและเป็นบทสรุปของเรื่องราว เป็นหลักแนวคิดสำคัญของแนวคิดปรัชญาที่ผู้แต่งต้องการจะสื่อตลอดเรื่อง หลังจากที่ตัวละครในเรื่องได้ถกเถียงกันในเรื่องของความทุกข์ยากที่ได้พบเจอ และสงสัยว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร ซึ่งปองโกลศซึ่งเป็นนักปรัชญาที่ก็องดิดด์นับถือมากที่สุด ยังให้คำตอบในเรื่องนี้ไม่ได้ ผู้แต่งจึงดำเนินเรื่องให้ไปถามผู้คนในเรื่องนี้ เพื่อหาความเป็นเหตุเป็นผล ว่าเราเกิดมาทำไม ทำไมเราจึงต้องมีความทุกข์ยาก และสุดท้ายปองโกลศและก็องดิดด์ก็ได้รู้ถึงหลักความเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งเป็นหลักปรัชญาในการมองโลกแห่งความเป็นจริง คือถ้าเราไม่เคยผ่านความทุกข์ยากลำบากมาก่อนเราก็จะไม่สามารถมีวันนี้ได้ จะไม่สามารถรับรู้ความเป็นไปของโลก ความเป็นอยู่ในต่างเมือง แนวคิดของคนอื่นๆ ไม่มีทางรับรู้และยอมรับว่าโลก และสังคมไม่ได้สวยงามหรือเป็นไปเพื่อสิ่งที่ดีที่สุด แต่หลักความเป็นจริงคือในแต่ละสังคมมีความโหดร้ายซ่อนอยู่เสมอ ไม่มีใครที่จะมีความสุขไปได้ตลอดต่อให้เกิดมาในครอบครัวที่สูงส่ง ก็ย่อมมีความทุกข์ และสิ่งที่ปองโกลศได้พูดไว้ตลอดเรื่อง คือ “ทุกสิ่งทั้งปวงย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่ดีที่สุด” นั้นเป็นสิ่งที่น่าขบคิด ซึ่งสวนทางกับแนวคิดของมาร์แต็งคือ “โลกนี้มีความโหดร้าย”
            การจบเรื่องในตอนสุดท้ายนี้ ได้จบด้วยประโยคที่ให้ผู้อ่านได้คิดต่อ ดังที่ วัลยา วิวัฒน์ศร  ได้วิเคราะห์ไว้ดังนี้
           จบด้วยการแต่งงานระหว่างก็องดิดด์และกุเนก็องด์ตามแบบฉบับของนิยาย และการตัดสินใจของก็องดิดด์ให้ทุกคนทำงาน คำพูดที่ว่า “จงทำสวนของเรา” ทำให้บทจบเป็นบทแห่งการตั้งคำถามและให้คำตอบ รวมทั้งแสดงความเปลี่ยนแปลงของเรื่อง ในประเด็นต่อไปนี้
- จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างความทุกข์กับความสุขในชีวิต ได้เปลี่ยนเป็นปัยหาความขัดแย้งระหว่างความเบื่อหน่ายกับความกังวลใจ อันเนื่องจากการไม่ทำงานหาเลี้ยงชัพเพราะมัวแต่ถกเถียงปัญหาอภิปรัชญาและการเมือง
- จากประเด็นการมองโลกในแง่ดีหรือการมองโลกในแง่ร้าย ได้เปลี่ยนเป็นประเด็นความขี้เกียจหรือการทำงาน
- จากการใส่ใจในปัญหาอภิปรัชญา (มนุษย์คืออะไร ความดีคืออะไร ความเลวร้ายคืออะไร เป็นต้น) ได้เปลี่ยนเป็นการใส่ใจในเรื่องของการปฏิบัติ กล่าวคือทำอย่างไรจึงจะดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ พร้อมด้วยปัจจัยสี่ และไม่เอาเปรียบผู้อื่น

            เมื่อวอลแตร์ให้ก็องดิดด์พูดว่า ‘จงทำสวนของเรา’ นั้น เขาเรียกร้องให้ชนชั้นขุนนางและผู้คนโดยทั่วไปทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วยการทำงาน ในระบอบการปกครองแบบเก่านั้น ขุนนางจะไม่ทำงาน เพราะถือเป็นการเสียเกียติยศ ตั้งแต่เกิดมาก็ร่ำรวยจากน้ำพักน้ำแรงของชาวไรชาวนาที่เกิดในที่ดินของตน และของผู้เช่าที่ทำกินอยู่แล้ว  วอลแตร์เสนอสังคมกสิกรรม โดยเริ่มต้นจากหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม คือครอบครัว เมื่อทุกครอบครัวทำงาน ผลแห่งการทำงานนั้นย่อมครอบคลุมขยายไปทั้งหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และทั้งประเทศในที่สุด การเสนอสังคมกสิกรรมเป็นเพียงตัวแทนหนึ่งตัวอย่างของการทำงาน จาก ‘จงทำสวนของเรา’ ย่อมขยายความไปถึงการทำงานในสาขาอื่น อาชีพอื่นได้ ไปยังสังคมอุตสาหกรรมได้ ที่สำคัญคือก้าวแรก จากการไม่ทำงานเป็นการทำงานและสวนก็จะเป็นสวรรค์บนดิน ดังที่กล่าวอ้างไว้ในปริจเฉทแรกของหมวดบัญญัติในพระคัมภีร์เก่า ว่าด้วย ‘กำเนิดมนุยชาติ’ โดยมิต้องเกรงกลัวว่าพระผู้เป็นเจ้าจะไล่ออกไปดังที่ทรงไล่อาดัมและอีฟ ประโยคที่ว่า ‘จงทำสวนของเรา’ นั้น แสดงความเชื่อมั่นในพลังสร้างสรรค์ของมนุษย์ เป็นการตัดเอาความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าออกไป มนุษย์จะต้องเพิ่งตนเอง มิใช่พึ่งพระผู้เป็นเจ้า เขาจะเป็นผู้สร้างโลกของเขาด้วยตัวของเขาเอง
         
              ผู้แต่งมองโลกในแง่มุมของความเป็นจริงมากกว่าจะมองโลกอย่างเพ้อฝัน เขาเลือกที่จะไม่จบนิยายเรื่องนี้ในแบบนิยายในฝัน แต่เลือกจะจบนิยายเรื่องนี้ในแบบของโลกที่เป็นจริง ผู้คนต้องดิ้นรนขวนขวายให้ชีวิตดำเนินไปได้ เขาเลือกให้ตัวละครทั้งหลายในเรื่องที่ก็องดิดด์รวบรวมขึ้นมาเป็นครอบครัวใหม่ต้องทำงานเพื่อแลกกับการมีชีวิตอยู่โดยไม่หวังพึ่งแต่เพียงการสวดอ้อนวอนพระเจ้าหรือนั่งล้อมวงวิเคราะห์การเมือง นั่นเหมือนการจบแบบผู้ใหญ่ที่ครั้งหนึ่งเคยเชื่อในสิ่งใดมาก ๆ แล้วเมื่อถึงวัยหนึ่งต้องกลับมานั่งคิดว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นมีจริงหรือเปล่า โลกอันโหดร้ายนั้นมีอยู่จริง และโลกในอุดมคตินั้นก็ไม่มีอยู่จริง แล้วทำไมถึงไม่ผสมผสานโลกสองโลกนี้เข้าด้วยกันล่ะ ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจในวิธีการเขียนของผู้แต่งที่ไม่ปฏิเสธแนวคิดที่ว่าโลกเป็นไปเพื่อสิ่งที่ดีกว่าเสียทั้งหมด และไม่ปฏิเสธสังคมอุดมคติที่เขาคิดว่ามีไปด้วยเช่นกัน


Vocabulaire

1. jugement [n.m.]  คำพิพากษาของศาล
assemblée, audience, réunion pendant laquelle a lieu le jugement.
2. v.épouser  [ v. ]  ทำการสมรส
prendre pour époux ou épouse, se marier.
3. tapisserie  [ n.f.]  พรมประดับผนัง
papier peint à coller sur les murs.
4. palefrenier  [n.m.]  คนเลี้ยงม้า
celui qui s'occupe des chevaux.
5. piqueurs [ n.m. ]  คนขี่ม้าที่เทียมรถ
ouvrier utilisant un pic ou un marteau pneumatique.
6. vicaire [ n.m.]  บาทหลวงเจ้าอาวาส
(religion) prêtre auxiliaire et adjoint d'un autre prêtre, d'un évêque, etc.
7. consideration [ n.f. ] การพิจารณา
fait de considérer, d'observer, avec une grande attention.
8. cochons [ adj. ]  หยาบคาย
sale, répugnant, qui inspire le dégoût
9. tremblement [ n.m. ]  ความสั่นสะเทือน
action de trembler, d'être agité de petits mouvements (tremblement d'une feuille).
10. innocemment [ adv. ] อย่างบริสุทธิ์ใจ
avec innocence, sans vouloir faire du mal


11. vivacité [ n.f. ] ความคึกคัก
caractère de quelqu'un d'enjoué, plein de vie, entraînant
12. experimental [ adj. ] การทดลอง
qui est fondé sur l'expérience, qui emploie systématiquement l'expérience (technologie expérimentale)
13. disposition [ n.f. ] บทบัญญัติ
fait de disposer, d'arranger d'une certaine façon
14. broussaille [ n.f. ] พุ่มไม้มีหนาม
végétation mélangeant arbustes et épineux, caractérisant les terrains laissés incultes
15. extrêmement[ adv. ] อย่างรุนแรง
de façon extreme
16. admirablement [ adv. ] น่ามหัศจรรย์
de façon admirable, merveilleusement
17. impertinence [ n.f. ]  อวดดี
insolence, effronterie
18. fidèle  [ adj. ] คนที่นับถือศาสนา
qui respecte les engagements pris
19. insupportable [ adj. ] ทนไม่ได้
qu'on ne peut supporter
20. v. attraper  [ v. ] จับ
rejoindre et saisir
21. désastre  [ n.m. ] ภัยพิบัติ
événement malheureux, catastrophe, ruine
22. briller  [ v. ] สะท้อน
réfléchir la lumière, être lumineux
23. proprement  [ adv. ] อย่าถูกต้อง
précisément, véritablement
24. éprouver  [ v. ] ประสบการณ์
ressentir, avoir (éprouver de la tendresse, éprouver une drôle d'impression, éprouver de la nervosité)
25. réflexion  [ n.f. ] การสะท้อน
action de réfléchir en concentrant sa pensée sur une question donnée
26. léthargie  [ n.f. ] ความง่วง
sommeil pathologique profond avec relâchement musculaire total
27. consulter  [ v. ] ปรึกษา
demander des avis ou conseils
28. horriblement  [ adv. ] อย่างหวาดกลัว
de façon horrible
29. raisonneur [ adj. ] ที่มีเหตุผล
qui raisonne
30. désir  [ n.m. ] ปรารถนา
souhait, vœu

บรรณานุกรม
- วัลยา วิวัฒน์ศร.วอลแตร์ : ก็องดิดด์.พิมพ์ครั้งที่3.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ
- วัลยา วิวัฒน์ศร.วอลแตร์ : ก็องดิดด์.พิมพ์ครั้งที่6.กรุ่งเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2557
- https://fr.wikipedia.org/wiki/Voltaire
- http://www.ebooksgratuits.com/blackmask/voltaire_candide.pdf
- http://www.le-dictionnaire.com/


น.ส.สุจิวรรณ  พลับขาว 56261993

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น